รู้จักกัญ EP.3

[section] [row] [col span__sm=”12″ align=”center”] [accordion] [accordion-item title=”ดาวน์โหลดเกียรติบัตรออนไลน์ วันที่ 30 ส.ค. 65 เป็นต้นไป”] [ux_image id=”2771″ lightbox=”true”] [/accordion-item] [/accordion] [ux_image id=”2737″ lightbox=”true”]

รับชมย้อนหลัง

[ux_html visibility=”hide-for-small”] [/ux_html] [ux_html visibility=”show-for-small”] [/ux_html] [divider align=”center”] [ux_image id=”2786″] [ux_text text_align=”left”]

เสวนา หัวข้อ “รู้จักกัญ : สถานการณ์ผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาต่อเด็กและเยาวชน

เครือข่าย Youth Network Against Cannabis (YNAC) จัดเสวนาให้ความรู้ประชาชนถึงสถานการณ์ผลกระทบจากการปลดล็อกกัญชาต่อเด็กและเยาวชน ทางออนไลน์ ในวันที่ 28 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในประเด็นกัญชามาเล่าข้อมูลล่าสุดให้ฟัง

นายวัชรพงศ์ พุ่มชื่น นักพัฒนาวิชาการ ศูนย์วิชาการสารเสพติดภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า จากการที่เครือข่ายภาคประชาชนไปลงพื้นที่ทำงานเรื่องป้องกันยาเสพติด ไปเจอเด็กประถมรวมกลุ่มสูบกัญชา เอาดอกกัญชามาจากเพื่อน ดูยูทูปแล้วทำบ้องกัญชากันเอง โดยใช้ขวดน้ำอัดลมมาทำ   และที่น่ากลัวยิ่งขึ้นไปอีก คือ พบว่ามีผู้เสพกัญชาที่เริ่มใช้ผงขาวมาโรยหน้ากัญชา หรือที่เรียกว่า แป๊ะ เพื่อให้ออกฤทธิ์แรงขึ้น ตอนนี้การเสพกัญชาของเยาวชนกำลังขยายตัวกว้างขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตชุมชนเมือง   พ่อแม่ผู้ปกครองหลายล้านคน หลายแสนครอบครัวกำลังคิดไม่ตกว่าจะดูแลลูกหลานของพวกเขาอย่างไรภายใต้สถานการณ์ปลดดล็อกกัญชาแบบนี้   ผู้มีอำนาจจะกำหนดนโยบายโดยไม่สนใจถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในสังคมไม่ได้

 

ศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ นายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ตามที่ได้มีการถอดกัญชาออกจากยาเสพติดโดยกฎกระทรวงสาธารณสุข สถานการณ์ใน 2 เดือนที่ผ่านมา พบว่ามีการใช้กัญชาจนเกิดอันตราย ทั้งทางด้านสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ตลอดจนเกิดปัญหากับเด็กและเยาวชนตามที่ปรากฏในข่าว จึงมีข้อห่วงใย ที่ประชาชนและสื่อมวลชนควรร่วมกันเรียกร้องให้รัฐบาลและรัฐสภาออกมาตรการ หรือให้ พรบ.กัญชากัญชงมีเนื้อหาที่ครอบคลุมข้อห่วงใยดังต่อไปนี้

  1. มีความเข้าใจผิดว่าการปลดล็อกกัญชานั้นหมายถึงกัญชาปลอดภัยที่จะใช้แบบพืชทั่วไป ทั้งที่ในทางการแพทย์ยังถือว่ากัญชามีฤทธิ์เสพติด สามารถทำให้เมาจนเกิดอันตรายได้
  2. แม้ว่าใน พรบ.กัญชา จะห้ามจำหน่ายช่อดอกแก่เด็กและเยาวชน แต่การให้ปลูกในครัวเรือนเป็นการเพิ่มโอกาสให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงได้โดยง่าย
  3. การอนุญาตให้มีการโฆษณากัญชาหรือผลิตภัณฑ์ จะส่งผลกระทบให้เด็กและเยาวชนอยากใช้กัญชามากขึ้นได้
  4. การอนุญาตให้สูบกัญชา (ไม่ใช่ที่สาธารณะ) ไม่ใช่การใช้กัญชาทางการแพทย์ การอนุญาตให้สูบกัญชาในครัวเรือนจะส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน
  5. ผลกระทบของกัญชาต่อเด็กและเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าเด็กและเยาวชนไม่ได้เป็นผู้ใช้เอง แต่เกิดจากคนในครอบครัวใช้
  6. การใช้กัญชาไม่ได้เกิดผลกระทบเพียงระยะสั้น เช่น การเมา เท่านั้น แต่สามารถเกิดผลระยะยาวได้ ได้แก่

– ผลต่อสติปัญญา  ความสามารถในการเรียนรู้

– ทำให้เกิดปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว

– มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคอารมณ์เศร้า โรคจิตสูงขึ้น

– มีโอกาสที่จะมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือลงมือทำมากขึ้น

  1. ถ้าผู้ปกครองใช้กัญชาจะส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชน ได้แก่

– ความสามารถในการตอบสนองความต้องการของเด็ก การใส่ใจดูแลลดลง

– มีรายงานพบว่าทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายและการล่วงละเมิดเด็กมากขึ้น

 

ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ได้กล่าวถึงการใช้กัญชาทางสายกลาง เพราะในตัวกัญชานั้นมีทั้งประโยชน์และโทษ และสาระสำคัญในกัญชา cannabinoid มีถึงกว่า 500 ชนิด ที่มีการศึกษากันมาคือ THC (มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท,สารเมา) CBD (ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท,ลดอักเสบ,ฯลฯ) และถ้าหามีการเผาไหม้ จะมีสารเคมีอีก 2,000 ชนิด การสกัดกัญชาที่นำมาใช้ประโยชน์ในการแพทย์ของแพทยสภา ที่นำมาใช้ในการรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด แก้อาการภาวะปวดประสาท ที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล โรคลมชักที่รักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อยา ฯลฯ และในต่างประเทศที่แคนาดาและบางรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้กัญชาสกัดช่วยให้ผู้ป่วยทานได้ นอนหลับ ลดปวด ลดการใช้อนุพันธ์ฝิ่น/สารเสพติดอื่น ลดค่าใช้จ่ายด้านยาที่ใช้กัญชาทดแทนได้ รวมถึงใช้ในการนันทนาการ ลดปวด ลดความเครียด ความกังวล ภาวะซึมเศร้า เพิ่มความอยากอาหาร และในทางกลับกัน ผลกระทบที่มาจากการเปิดกัญชาเสรี ก็เป็นดาบอีกคม ที่หลายคนมองข้ามไปไม่ว่าจะเป็น ส่งผลลบต่อการพัฒนาทางสมองของเยาวชน ก่อให้เกิดอาการวิกลจริต และโรคจิตเภท เพิ่มขึ้น

กัญชาทางสายกลาง = ความพอดี = ได้ประโยชน์ไม่เกิดโทษ ไม่มีประเทศใดในโลกที่มีนโยบายกัญชาเสรีโดยไม่มีการควบคุมใด ถ้าหากมุมมองในระดับบุคคล การใช้กัญชามีประโยชน์และโทษระดับบุคคลอย่างไร ควรใช้กัญชาในมุมมองระดับสาธารณะ (ดูแลสภาพแวดล้อม) นโยบายกัญชามีด้านบวกและลบอย่างไร กับใคร ทั้งนี้นโยบายของกัญชาของประเทศไทย มี 5 ระดับ

  1. การห้ามโดยสิ้นเชิง(prohibition) ปี 2522 (พรบ.ยาเสพติดให้โทษ)
  2. การลดอาชญากรรม (prohibition)
  3. กัญชาทางการแพทย์ (medical cannabis) ปี 2562 (พรบ.ยาเสพติดให้โทษ)
  4. กัญชาเสรี แบบควบคุมเข้มงวด (medical cannabis)
  5. กัญชาเสรีในตลาดแข่งขันเสรี (legalization under free market) ปี 2565 (ประมวลกม.ยาเสพติดให้โทษ+ประกาศ ก.สธ.)

ถ้าหากในกลุ่มบุคคลทั่วไปใช้กัญชาอย่างถูกต้อง และในระดับสาธารณะเองก็ต้องออกแบบนโยบายให้ถูกต้องเช่นกัน เพราะการปลดพืชกัญชาจากการเป็นยาเสพติดกับการไม่มีมาตรการควบคุมที่เพียงพอเท่ากับกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศ(กัญชาเสรีสุดโต่ง)

กัญชาทางสายกลาง (คือกัญชาที่ทางการแพทย์เข้าถึงได้)

  1. กัญชามีทั้งประโยชน์และโทษ
  2. ต้องแก้ต้นเหตุควบคู่ไปกับการแก้ปลายเหตุ(เตือนประชาชน/รักษาการเจ็บป่วย)
  3. ต้องปิดสุญญากาศกัญชาเสรี “ทันที” และ “ให้เวลา” กับการออกแบบกฎหมายกัญชาที่รอบคอบ รัดกุมโดยฟังเสียงผู้เกี่ยวข้องรอบด้าน

(ไม่ควรยอมรับ พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ในสภาฯ ตอนนี้เนื่องจากเป็นกฎหมายที่มุ่งกัญชาเสรีเพื่อนันทนาการ ผิดหลักการที่อ้างไว้ตอนต้น คือกัญชาทางการแพทย์ และกัญชาเพื่อเศรษฐกิจ)

จากภาวะสุญญากาศกัญชาเสรีในขณะนี้ทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงกัญชาได้อย่าง

ง่ายดาย จึงของเชิญชวนทุกท่านร่วมลงชื่อใน change.org/DelayCannabisLaw เพื่อเป็นการรวมพลังให้เห็นว่าประชาชนไม่ต้องการภาวะสุญญากาศกัญชาเสรีในขณะนี้ และต้องการเวลาสำหรับการออกแบบนโยบายกัญชาที่รอบคอบ รัดกุม โดยเปิดโอกาศให้มีการรับฟังความคิดเห็นรอบด้านเพื่อประโยชน์สูงสุดของคนไทยทั้งประเทศ และเพื่อปกป้องอนาคตลูกหลาน

 

ผศ.ดร.ธงชัย พงศ์สิทธิกาญจนา กรรมการบริหารหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้กล่าวถึงสถานการณ์ของประชาการของไทยหากจำนวนประชากรในประเทศลดลง จะเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงวัยเร็วขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวจะทำให้เด็กที่น้อยลงก็จะทำให้พัฒนาที่ยากขึ้น และในสถานศึกษาเองก็มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชง ทั้งในสถานศึกษาและส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัด หรือในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีดังนี้

  1. ห้ามใช้กัญชาหรือกัญชงกับนักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากรโดยเด็ดขาด เพราะอาจมีผลต่อการพัฒนาสมองของนักเรียนนักศึกษาหรือบุคลากร
  2. ห้ามมิให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากร ของสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัด และในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ใช้กัญชาหรือกัญชง เพื่อการนันทนาการใด ๆ เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น อาการทางจิต และระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย
  3. งดจําหน่ายอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีการผสมส่วนใดๆ ของกัญชาหรือกัญชง อีกทั้งห้ามมิให้นักเรียน นักศึกษา หรือบุคลากรของสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ นําอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการผสมส่วนใด ๆ ของกัญชาหรือกัญชง เข้ามาบริโภคในสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงาน ในสังกัดและ ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการอย่างเด็ดขาด
  4. ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม การจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม หรือการผลิตสื่อนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้กัญชาหรือกัญชง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชงที่เกินปริมาณ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ
  5. ให้ผู้บริหารสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรม การจัดการเรียนการสอน การฝึกอบรม หรือการผลิตสื่อนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้กัญชาหรือกัญชง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชงที่เกินปริมาณ ๆ
  6. ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานของสถานศึกษา ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการอาจออกมาตรการหรือแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดจากกัญชาหรือกัญชงได้

 

              จากการฟังข้อมูลสถานการณ์ล่าสุดจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย ซึ่งพบว่าขณะนี้มีการขายกัญชากันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสื่อที่เข้าถึงเยาวชนได้มาก และเริ่มมีเด็กและเยาวชนทดลองเสพกัญชามากขึ้น อีกทั้งข้อมูลบ่งชี้ชัดเจนว่าการเสพกัญชาส่งผลกระทบทางลบมากมาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จึงอยากเรียกร้องให้เพื่อนๆพาตนเองให้ห่างไกลจากกัญชา   พ่อแม่ ผู้ปกครองและครู โปรดช่วยกันให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนให้ห่างไกลจากการเสพกัญชา ตามสโลแกนของการรณรงค์ของเราว่า “ห่างกัญนะ” และอยากเรียกร้องให้ช่วยกันส่งเสียงขอให้กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลทำการปิดกัญชาเสรีในสภาวะสุญญากาศทันที เพื่อปกป้องอนาคตของเด็กและเยาวชน เพื่อให้เป็นประเทศไทยที่แข็งแรงต่อไป

[/ux_text] [/col] [/row] [row v_align=”middle”] [col span=”4″ span__sm=”12″] [ux_image id=”2527″ image_hover=”zoom” link=”https://dnewmedia.tv/webinar1/”] [/col] [col span=”4″ span__sm=”12″] [ux_image id=”2592″ image_hover=”zoom” link=”https://dnewmedia.tv/webinar/”] [/col] [/row] [/section] [section label=”Simple Light” bg_color=”rgb(245, 245, 245)” padding=”60px” height=”300px” border=”1px 0px 0px 0px” border_color=”rgb(235, 235, 235)”] [row] [col span=”7″ span__sm=”12″]

 

ติดตามอัพเดทความรู้เรื่อง “กัญชาและยาเสพติด

ได้ที่ เพจ ห่างกัญนะ 
ทางเพจได้รวบรวมความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายจากกัญชา/กัญชง และสารเสพติด 

[follow title=”กดติดตาม” style=”fill” align=”center” scale=”118″ facebook=”https://web.facebook.com/hangkanna65″ youtube=”https://www.youtube.com/channel/UC30V3suZUhA0v9cDW1VFZ9g/”]
☎️สอบถามเรื่องเกียรติบัตร
ไลน์  https://lin.ee/f0wnHiq
โทร. 082-978-4795,  092-630-4357
[/col] [col span=”5″ span__sm=”12″] [ux_html] [/ux_html] [/col] [/row] [/section]